อาร์เอสประกาศปลุกตลาดเพลงเมืองไทยโฉมใหม่ ปักธงรบด้วยกลยุทธ์ "Music Segment Champion" เน้นแบ่งเซกเม้นท์กลุ่มเป้าหมายเชิงลึกอย่างชัดเจน

Backพฤษภาคม 13, 2551

อาร์เอสวางแนวรบทางธุรกิจเพลงปี 51 เผยขับเคลื่อนด้วยโมเดลทางการตลาดรูปแบบใหม่ด้วยกลยุทธ์ "Music Segment Champion" กับ 8 กลุ่มแนวเพลง 10 ค่าย พร้อมแบ่งเซกเม้นท์คนฟังกลุ่มเป้าหมายในเชิงลึกและแนวเพลงอย่างชัดเจน เน้นกำหนดจุดยืนในการเป็นแชมเปี้ยนในแต่ละเซกเม้นท์ และสร้างสรรค์งานเพลงอย่างมีคุณภาพ

ลาดพร้าว - นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS เปิดเผยถึงโมเดลการบริหารงานเพลงด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบใหม่ที่แบ่งเป็นเซกเม้นท์เชิงลึกในแนวดิ่ง เพื่อ ให้ทันกับกระแสเทคโนโลยี และพฤติกรรมการฟังเพลงของคนยุคนี้ที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ถือได้ว่าอาร์เอสเป็นแชมป์เปี้ยนในเซกเม้นท์นี้ รวมถึงการขยายตัวเพื่อสู้กับปัญหาการละเมิดลิขสิทธ์ของเทปผีซีดีเถื่อนที่บริษัท ฯ มองแล้วว่านับวันจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันอาร์เอสปรับเปลี่ยนโมเดลการทำงานจากเดิมที่เคยแบ่งตามประเภทของแนวเพลงแบบดั้งเดิม อาทิ ป๊อป ( POP ), ร็อค ( ROCK ), อะเดาท์ คอมเทมเพอรารี่ ( Adult Contemporary ), คันทรี่ ( Country ) และแนวเพลงอื่นๆ มาสู่การแบ่งโดยใช้กลยุทธ์ Music Segment Champion โดย แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม 10 ค่ายเพลงด้วยกัน ได้แก่

นายสุรชัยกล่าวเพิ่มเติมถึงการนำไปสู่การเป็น Music Segment Champion ได้นั้นจะต้องผ่านกระบวนการทางการตลาด 8 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย การทำวิจัย ( Research ) กลุ่มเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิตัลอย่างถาวร โดยเฉพาะผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของอาร์เอสที่มีพฤติกรรมการบริโภคเพลงผ่านช่องทางการดาวน์โหลดในลักษณะต่างๆ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ขยับตัวค่อนข้างสูง การทำวิจัยจึงเป็นหนึ่งในกระบวนการทางการตลาดที่บริษัทฯนำมาใช้ทุกครั้งเพื่อสร้างความแน่ใจ และเป็นการวัด Feedback ในตัวของศิลปินเบอร์นั้นๆ อีกด้วย การนำเสนอ Content เพลงให้ตรงตามไลฟ์สไตล์และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญเพราะเมื่อทราบกลุ่มเป้าหมายและรู้ถึงวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมายนั้นๆแล้ว การทำงานแบบเน้นความแม่นยำและสื่อสารให้ตรงกลุ่มอย่างชัดเจน จะสร้างความพึงพอใจกับผู้บริโภคอย่างแท้จริง อีกกระบวนการหนึ่งนั้นก็คือ การสร้างแบรนด์ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายและสามารถเชื่อมโยงไปกับโพซิชั่นนิ่ง ( Positioning ) ของศิลปินได้ ในลักษณะของการกำหนด Corporate Brand ที่ชัดเจนและสอดคล้องซึ่งทำให้กลุ่มเป้าหมายจดจำและรับรู้ในแบรนด์นั้นๆได้เป็นอย่างดี อีกหนึ่งขั้นตอนที่มีความสำคัญนั้นคือ กระบวนการสร้างชุมชน ( Community ) ผ่านทางเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากความสำเร็จของการสร้าง Community ผ่านทางเว็บไซด์ " ชีซ่าดอทคอม ( www.zheza.com ) ของค่ายกามิกาเซ่ ที่สร้างขึ้นมาแบบโลกเสมือนจริงให้เป็นเว็บไซด์คอมมูนิตี้ของแหล่งรวมสาระความรู้เรื่องราวและเป็นเวทีของวัยทีนให้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นเพื่อเจาะไลฟ์สไตล์ของคนวัยมันส์โดยเฉพาะภายใต้แนวคิด " ประสบการณ์ความสนุกจากแก๊งส์เพื่อนซ่าส์ " หรือค่ายเพลงดอทคอม ( www.pleng.com ) ที่เป็นอีกหนึ่งคอมมูนิตี้ของคนพันธ์ร็อคอันเดอร์กราวน์ตัวจริงที่เข้ามาเพื่อแสดงออกถึงความสามารถทางด้านดนตรีผ่านทางเว็บไซด์นี้

ทั้งนี้ ยังให้ความสำคัญกับการทำการตลาดแบบ Local Marketing เพราะปัจจัยสำคัญในการทำการตลาดทุกวันนี้คือการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดแบบลงลึกยังพื้นที่ต่างๆ เนื่องจากผู้บริโภคแต่ละพื้นที่นั้นๆก็จะมีวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ตัวอย่างที่เด่นชัดคือความสำเร็จของค่ายเพลงอาร์สยามในการเป็นผู้ครองสัดส่วนในตลาดเพลงภาคใต้มากที่สุดซึ่งกลยุทธ์ Music Segment Champion นี้จะสามารถทำให้อาร์สยามเข้าไปปักธงในทุกๆพื้นที่ได้ ขั้นตอนต่อมาคือ สร้างความพอใจส่วนเพิ่มให้กลุ่มเป้าหมายด้วยการการทำ CRM ( Customer Relationship Management ) ในรูปแบบของกิจกรรมต่างๆที่ทำให้บริษัทฯ สามารถมีฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อคิดกิจกรรมที่สร้างความพึงพอใจให้กับกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี และอีกหนึ่งขั้นตอนที่สร้างมูลค่าเพิ่มในตัวศิลปินขึ้นมานั้นคือ การส่งเสริมภาพลักษณ์ของศิลปินด้วยแผน CSR หรือ Corporate Social Responsibility เพื่อสะท้อนการทำธุรกิจเพลงในแนว Green Music Marketing ซึ่งเป็นการสนับสนุนวิสัยทัศน์การเป็นผู้ปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานบันเทิงคุณภาพด้วย ความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ศิลปินจะต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม สาธารณกุศล ต่างๆ ในรูปแบบของอาสาสมัคร หรือแม้กระทั่งการเป็นทูตในมูลนิธิหรือองค์กรต่างๆ เช่น ฟิล์ม-รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ ในบทบาทของการเป็นทูตมูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ ประเทศไทย ( Habitat for Humanity Thailand ) หรือ บีม-กวี ตันจรารักษ์ กับบทบาทของทูต WWF ประเทศไทย (องค์กรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม) เพื่อรณรงค์ปลุกจิตสำนึกเยาวชนไทยใส่ใจสิ่งแวดล้อม และขั้นตอนสุดท้ายเมื่อผ่านกระบวนการข้างต้นมาทั้งหมดแล้วนั้นคือ การเพิ่มมูลค่าผ่านกระบวนการ Music Content Management ด้วยกลยุทธ์การเชื่อมโยงกับพันธมิตรทางธุรกิจอย่างใกล้ชิด ผ่านทางกิจกรรมที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย อาทิ กิจกรรม School Tour , คอนเสิร์ต และเนื่องจากศิลปินที่สร้างมาจะมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน มีไลฟ์สไตล์ ( Lifestyle ) หรือมีคาเรคเตอร์ ( Character ) ที่ชัดเจน ดังนั้นกลุ่ม Partner และ Sponsorship ที่เข้ามาก็จะใช้ศิลปินที่ตรงกับความต้องการในการเจาะตลาดนั้นๆได้เป็นอย่างดี Case Study ที่ชัดเจนคือความร่วมมือระหว่างบริษัท ฯ และ ทรูมิวสิค ในการใช้ โปงลางสะออน, กุ้ง สุธิราช,บิว กัลยาณี, กระแต ศิลปินลูกทุ่งยอดนิยมค่ายอาร์สยาม ในเครืออาร์เอส ที่มาสร้างความสนุกแบบไร้ขีดจำกัดผ่านทรูมิวสิคซิม พร้อมคอนเสิร์ตทั่วไทย ทั้งนี้กระบวนการที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับศิลปิน( Artist Value ) และเป็นการเพิ่มมูลค่าทางการตลาด ( Marketing Value ) ควบคู่กันไป และสุดท้ายจะนำมาสู่การสร้างความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภค

" การปรับโครงสร้างธุรกิจเพลงใหม่ ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก ( Core Business ) ของบริษัท ฯ ในครั้งนี้ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดอย่าง Music Segment Champion จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการนำเสนอผลงานอีกทั้งยังเป็นการขยายฐานเข้าสู่ทุกเซกเม้นท์ใหม่ทางดนตรี เพื่อให้ครอบคลุมผู้ฟังทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง เราเชื่อมั่นว่าจะทำให้แนวโน้มทางธุรกิจเติบโตดีขึ้นด้วยช่องทางใหม่ตามไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ผนวกกับเมื่อต้นปี 50 ที่อาร์เอสได้เปลี่ยนกติกาและวิธีการทำธุรกิจใหม่ให้เข้ากับมาตรฐานสากล โดยยกลิขสิทธ์ให้เป็นของผู้สร้างสรรค์งานเพลง ทั้งครูเพลง นักแต่งเพลง คนประพันธ์ทำนองและเนื้อร้อง นับตั้งแต่วันแรกที่ผลงานออกสู่สาธารณชนนั้นทำให้ในปีนี้ เราจะได้เห็นแนวเพลงที่หลากหลายและมีคุณภาพชัดเจนขึ้น " นายสุรชัยกล่าวทิ้งท้าย